วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนโรงเรียนชะอวดในปัจจุบันเกิดขึ้นในเพศไหนมากที่สุด

ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนโรงเรียนชะอวดในปัจจุบันเกิดขึ้นในเพศไหนมากที่สุด



1 ปัญหาหลัก:    ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ เด็ดหัว นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง  ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย  การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น"เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย  เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน 

2 สาเหตุ: เงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น 
5.  มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (เตือนใจ ชาลี 2539)
6.  เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน  เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
7. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ
แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น  ( ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) )
3 ผลกระทบอะไรบ้างที่ศึกษาต่อสังคม:
1.  เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย  ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้
2.  นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3.  ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้โชว์พาว ข่มขู่เด็กอื่นๆ
4.  เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
 5.  เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท   สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
 หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น :
1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. กระทรวงศึกษาธิการ
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
4. สถาบันการศึกษา
5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
6. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ
5 แนวทางแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
1.ให้ทางสถาบันการศึกษาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นอาวุธนักศึกษาทั้งเข้าและออก รวมทั้งหลังจากที่นักศึกษากลับบ้าน   ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดประตูทางเข้าออก รวมทั้งฝั่งตรงข้ามสถาบัน
2. ขอให้ผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียน ในบ้านและในสังคม เป็นแบบอย่างในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนกล้าแสดงออกที่เหมาะสมกับกาลเทศะ รวมทั้งส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีความพร้อมทั้งทางความคิดและความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา 
            3.ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันน่าอยู่ และสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ที่เด็กชอบหนีไปเที่ยว ติดตามศิษย์เก่าที่มีพฤติกรรมไม่ดี ชอบมายุแหย่รุ่นน้องให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีมักเตือนและให้คำแนะนำว่าเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย  ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง
4.จัดทำประวัตินักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนใหม่นำข้อมูลส่งตำรวจติดตามพฤติกรรม  ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร
5.สร้างทางเลือกในกิจกรรมที่เร้าใจเยาวชน จัดกิจกรรมระหว่างสถาบันการศึกษา เช่น การพัฒนาวัด ทำบุญร่วมกัน  จัดการเรียนรู้ให้เยาวชนเห็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ทั้งดีและร้ายของการพนัน การเสพยา พฤติกรรมเพศที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสร้างวินัยให้เยาวชนเข้าใจขอบเขตที่เหมาะสม ที่ไม่เป็นผลร้ายแก่ตัวเองและผู้อื่น
6. จัดตำรวจเข้าไปเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและบทลงโทษแก่เยาวชนที่กระทำความผิด
7. หน่วยงานต่างๆของรัฐและเอกชน ควรมีส่วนร่วมเสมอ  ในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาขึ้น  โดยมีแนวทางดังนี้ คือ เปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงข้อมูล  ข่าวสาร  ทรัพยากร  เพื่อกระต้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น  ได้ทดลอง  ได้เรียนรู้  ได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนเองสนใจ และมีความถนัด   ส่งเสริมการเรียนรู้  ด้วยการงดเว้นค่าบริการต่างๆ เช่น  ค่ารถ  ค่าเรือ  ค่าผ่านประตูเข้าสวนสัตว์  พิพิธภัณฑ์ต่างๆ สนามกีฬา  ห้องสมุด  รวมถึงการลดราคาให้แก่ผู้ใหญ่ที่พาเด็กเข้าไป  เป็นต้น  รัฐควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้  ส่งเสริมครู และพี่เลี้ยงเยาวชน  ที่มีความสามารถพิเศษ  และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก  เช่นนักกีฬาทีมชาติ  ควรให้เป็นผู้สอนเยาวชนในกีฬาที่เด็กสนใจ  ส่งเสริมสนามกีฬา  ศูนย์เยาวชน  สวนสาธารณะ  สวนสัตว์ ให้เป็นที่เรียนรู้แก่เด็ก  โดยมีผู้ใหญ่ที่คอยดูแลให้เด็กได้เรียนรู้อย่างคุ้มค่า
8. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทต้องถูกลงโทษด้วยกฎหมายที่เด็ดขาด   เชื่อว่าน่าจะมีผลให้นักศึกษาหวาดเกรงโทษ และก่อเหตุน้อยลง เพราะที่ผ่านมามีแต่การพูดถึงว่าต้องถูกลงโทษ แต่ยังไม่เคยเห็นเป็นรูปธรรม ส่วนที่มีผู้เสนอว่าน่าจะเชิญผู้แทนอัยการ และผู้พิพากษาเข้ามาร่วมพิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยนั้น   น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาในกรณีที่เด็กก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะจะได้วางแนวทางพิจารณาโทษคดีความต่างๆ ไปในแนวทางเดียวกัน
 ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น :
1.       สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.      รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป ท่าทีเป็นกลาง
3.      เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.      มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.      กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.      ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7.      เป็นแบบอย่างที่ดี 
8.      ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.      ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมัน
     10.  ชมเชยเมื่อทำได้ดี
     11.  เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น

ที่มา: http://www.learners.in.th/blogs/posts/336464