ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนโรงเรียนชะอวดในปัจจุบันเกิดขึ้นในเพศไหนมากที่สุด
1 ปัญหาหลัก: ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมาทางหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ปัจจุบันนี้ นักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษามีการประกาศสงครามกันผ่านทางอินเตอร์เน็ตในเว็บไซต์ต่างๆ โดยมีการเขียนคำท้าทาย หรือประกาศว่าจะยึดสัญลักษณ์ เช่น หัวเข็มขัด ของสถาบันฝ่ายตรงข้ามให้ได้ รวมถึงใช้ถ้อยคำยั่วยุรุนแรงว่าจะ “เด็ดหัว” นักศึกษาสถาบันคู่อริ ซึ่งในช่วงที่ใกล้วันสถาปนาของแต่ละสถาบันการทำสงครามทางอินเตอร์เน็ตยิ่งรุนแรง และน่าเป็นห่วง ซึ่งในปัจจุบันไม่เพียงแค่กลุ่มวัยรุ่นเท่านั้นยังเข้าไปถึงการทะเลาะวิวาทกันข้ามสถาบันอีกด้วย การทะเลาะวิวาท ปะทะ ต่อสู้ เพื่อ "ศักดิ์ศรีสถาบัน" ของ "นักศึกษาอาชีวะ" ได้กลายเป็น "ธรรมเนียมปฏิบัติ" ที่ยากจะแก้ไข แต่ก็จำเป็นต้องแก้ เนื่องจากปัญหาดังกล่าวนอกจากจะสร้างความอกสั่นขวัญผวาให้แก่สังคม ทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตแล้ว ยังสร้างความเสื่อมเสียและทำลายความน่าเชื่อถือให้กับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็น"เสาหลัก" ของการผลิตทรัพยากรมนุษย์อันเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอีกด้วย เหตุการณ์การทะเลาะวิวาท ระหว่างนักศึกษาอาชีวะต่างสถาบันที่นับวันยิ่งจะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกรณีการใช้อาวุธปืนไล่ยิงกันจนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตนั้น ถือเป็น "ปัญหาเรื้อรัง" ที่สังคมต้องการหาหนทางเยียวยา และแก้ไขอย่างเร่งด่วน
2 สาเหตุ: เงื่อนไขของการเกิดเหตุทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเกิดจากปัจจัยที่หลากหลายดังนี้คือ
1. เนื่องจากสถานศึกษาไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร การไม่ให้การสนับสนุนและเห็นความสำคัญของปัญหาของผู้บริหาร ในการที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นอาวุธในสถาบันการศึกษา เพื่อเป็นการลดและป้องกันการก่อเหตุทะเลาะวิวาท
2. เกิดจากการถูกทำร้ายร่างกายมาก่อน
3. เกิดจากการเป็นศัตรูคู่อริ ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องขาดความร่วมมือในการปฏิบัติ
4. เกิดจากความต้องการอวดให้รุ่นน้องเห็น
5. มาตรการที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง (เตือนใจ ชาลี 2539)
6. เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ ใจร้อน และขาดสติ เป็นความแค้นส่วนตัว ไม่ชอบหน้ากัน และไม่ถูกกัน เกิดจากการปลูกฝังค่านิยมที่ผิดๆ จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จากเรื่องชู้สาว และมาพัวพันกับเพื่อนผู้หญิงในสถาบัน เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกศักดิ์ศรีหรือความยิ่งของสถาบัน เป็นต้น
7. เกิดจากความรู้สึกเสียศักดิ์ศรี ความคึกคะนองตามธรรมชาติของวัยรุ่น และการถูกยั่วยุ ตลอดจนวันรุ่นมีภูมิต้านทานต่อการยั่วยุต่ำ
แต่อย่างไรก็ตามเงื่อนไขที่ทำให้การก่อเหตุทะเลาะวิวาทดำรงอย่างต่อเนื่องคือ การเกิดตัวตนแห่งสถาบัน ได้แก่ สถาบันครอบครัว สถาบันชุมชน สถาบันการศึกษาและสถาบันกลุ่มหรือเครือข่าย เป็นต้น สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น ( ทิวา วงศ์ธนาภา (2539) )
3 ผลกระทบอะไรบ้างที่ศึกษาต่อสังคม:
1. เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง เพราะนอกจากนักเรียนโรงเรียนคู่อริจะได้รับบาดเจ็บแล้ว คนส่วนหนึ่งที่ต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยคือ คนที่โดนลูกหลงนั่นเอง ซึ่งเราก็มักจะเห็นในข่าวอยู่เสมอว่า คนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยมักจะได้รับบาดเจ็บ บางรายถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาลนอนให้น้ำเกลือเป็นเดือนๆ บางรายถึงกับต้องเสียชีวิตไปเปล่าๆจากการทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นเหล่านี้
2. นักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นกลุ่มที่มีมโนภาพแห่งตนต่ำกว่านักเรียนอาชีวะทั่วไป คือ มองภาพพจน์ตัวเองต่ำ รู้สึกมีปมด้อย ขาดการยอมรับจากสังคม และมีความวิตกกังวล และกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพฤติกรรมก้าวร้าว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าว กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
3. ก่อให้เกิดอาชญากรรมของเด็กวัยรุ่นที่กระทำต่อแท็กซี่และคนทั่วไปที่ไม่ได้รู้เรื่อง เช่น เด็กจี้แท็กซี่เพราะต้องการเอาเงินไปเที่ยวกลางคืน การตี ฆ่า ข่มขืน เด็กแว้น (เด็กกวนเมือง) ที่เกิดขึ้นทุกหัวระแหงของสังคมไทย หรือ เด็กผู้หญิงตบตีกันแล้วถ่านคลิปเอาไว้“โชว์พาว” ข่มขู่เด็กอื่นๆ
4. เป็นเหตุปัจจัยที่ซับซ้อนและใหญ่โตระดับโครงสร้างทางสังคม ซึ่งไม่สามารถแก้ไขแต่เพียงตัวปัญหาหรือปรากฏการณ์ที่มองเห็นเท่านั้น เหตุปัจจัยที่ว่านี้ได้แก่ ปัญหาด้านชีววิทยา / จิตวิทยาวัยรุ่น ปัญหาการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว ระบบการศึกษา อิทธิพลจากสื่อและโฆษณา ปัญหาบริโภคนิยม
5. เมื่อเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท สถาบันเหล่านี้จะถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการที่เป็นกลไกทางสังคมสั่งสมจนกลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา นอกจากนั้นการให้ความหมายหรือตีความ โดยเฉพาะการให้ความหมายและการตีความต่อโลกและสังคมของการก่อเหตุทะเลาะวิวาท จะเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่เกิดขึ้นเมื่อดำเนินวิถีชีวิตอยู่ในสังคมวัยรุ่น
4 หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น :
1. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
2. กระทรวงศึกษาธิการ
3. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)
4. สถาบันการศึกษา
5. สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
6. สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ
5 แนวทางแก้ไขปัญหาของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
1.ให้ทางสถาบันการศึกษาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจค้นอาวุธนักศึกษาทั้งเข้าและออก รวมทั้งหลังจากที่นักศึกษากลับบ้าน ติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดประตูทางเข้าออก รวมทั้งฝั่งตรงข้ามสถาบัน
2. ขอให้ผู้ใหญ่ทั้งในโรงเรียน ในบ้านและในสังคม เป็นแบบอย่างในสิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนกล้าแสดงออกที่เหมาะสมกับกาลเทศะ รวมทั้งส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย มีความพร้อมทั้งทางความคิดและความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมา
3.ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันน่าอยู่ และสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ที่เด็กชอบหนีไปเที่ยว ติดตามศิษย์เก่าที่มีพฤติกรรมไม่ดี ชอบมายุแหย่รุ่นน้องให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีมักเตือนและให้คำแนะนำว่าเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง
3.ทำให้โรงเรียนหรือสถาบันน่าอยู่ และสร้างการเรียนรู้ในสถานที่ที่เด็กชอบหนีไปเที่ยว ติดตามศิษย์เก่าที่มีพฤติกรรมไม่ดี ชอบมายุแหย่รุ่นน้องให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่ดีมักเตือนและให้คำแนะนำว่าเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย ไม่เพียงแต่จะสร้างปัญหาให้กับตัวเองแล้ว ยังทำให้สถาบันการศึกษาเสื่อมเสียชื่อเสียง และที่สำคัญกว่านั้นคือเป็นปัญหาให้กับสังคมและคนรอบข้าง
4.จัดทำประวัตินักศึกษาปี 1 ที่เพิ่งเข้าเรียนใหม่นำข้อมูลส่งตำรวจติดตามพฤติกรรม ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้กำหนดแผนป้องกัน และระงับเหตุนักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานศึกษาที่มีนักเรียนก่อเหตุบ่อยครั้ง หรือกลุ่มนักเรียนที่มีแนวโน้มจะกระทำผิด สถานที่ที่จะกระทำผิด โดยให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ระหว่างสถานศึกษากับตำรวจ เฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมนักเรียนใน และนอกสถานศึกษา กวดขันสถานบันเทิงซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุม จู่โจมตรวจค้นสถานศึกษาหรือสถานที่ข้างเคียงซึ่งใช้ซุกซ่อนอาวุธ จัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมในค่ายทหาร
5.สร้างทางเลือกในกิจกรรมที่เร้าใจเยาวชน จัดกิจกรรมระหว่างสถาบันการศึกษา เช่น การพัฒนาวัด ทำบุญร่วมกัน จัดการเรียนรู้ให้เยาวชนเห็นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม ทั้งดีและร้ายของการพนัน การเสพยา พฤติกรรมเพศที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งสร้างวินัยให้เยาวชนเข้าใจขอบเขตที่เหมาะสม ที่ไม่เป็นผลร้ายแก่ตัวเองและผู้อื่น
6. จัดตำรวจเข้าไปเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและบทลงโทษแก่เยาวชนที่กระทำความผิด
7. หน่วยงานต่างๆของรัฐและเอกชน ควรมีส่วนร่วมเสมอ ในการส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาขึ้น โดยมีแนวทางดังนี้ คือ เปิดโอกาสให้เด็กได้เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ทรัพยากร เพื่อกระต้นให้เด็กอยากรู้อยากเห็น ได้ทดลอง ได้เรียนรู้ ได้ฝึกฝนในสิ่งที่ตนเองสนใจ และมีความถนัด ส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยการงดเว้นค่าบริการต่างๆ เช่น ค่ารถ ค่าเรือ ค่าผ่านประตูเข้าสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ สนามกีฬา ห้องสมุด รวมถึงการลดราคาให้แก่ผู้ใหญ่ที่พาเด็กเข้าไป เป็นต้น รัฐควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้ ส่งเสริมครู และพี่เลี้ยงเยาวชน ที่มีความสามารถพิเศษ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่นนักกีฬาทีมชาติ ควรให้เป็นผู้สอนเยาวชนในกีฬาที่เด็กสนใจ ส่งเสริมสนามกีฬา ศูนย์เยาวชน สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ให้เป็นที่เรียนรู้แก่เด็ก โดยมีผู้ใหญ่ที่คอยดูแลให้เด็กได้เรียนรู้อย่างคุ้มค่า
8. นักศึกษาอาชีวศึกษาที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทต้องถูกลงโทษด้วยกฎหมายที่เด็ดขาด เชื่อว่าน่าจะมีผลให้นักศึกษาหวาดเกรงโทษ และก่อเหตุน้อยลง เพราะที่ผ่านมามีแต่การพูดถึงว่าต้องถูกลงโทษ แต่ยังไม่เคยเห็นเป็นรูปธรรม ส่วนที่มีผู้เสนอว่าน่าจะเชิญผู้แทนอัยการ และผู้พิพากษาเข้ามาร่วมพิจารณาปัญหาต่างๆ ด้วยนั้น น่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาในกรณีที่เด็กก่อเหตุทะเลาะวิวาทหรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เพราะจะได้วางแนวทางพิจารณาโทษคดีความต่างๆ ไปในแนวทางเดียวกัน
6 ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น :
1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2. รับฟังปัญหาเด็กเสมอ ไม่ตำหนิ หรือสั่งสอนเร็วเกินไป ท่าทีเป็นกลาง
3. เข้าใจปัญหา หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4. มองเด็กในแง่ดี มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5. กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีทางเลือกหลายๆทาง วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6. ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7. เป็นแบบอย่างที่ดี
8. ใช้กิจกรรมช่วย กีฬา ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมกลุ่ม
9. ให้เพื่อนช่วยเพื่อน อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน ไม่ตัวใครตัวมัน
10. ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11. เมื่อทำผิด มีวิธีตักเตือน ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
ที่มา: http://www.learners.in.th/blogs/posts/336464
ที่มา: http://www.learners.in.th/blogs/posts/336464
การทะเลาะวิวาท
ปัญหาความรุนแรง และการทะเลาะวิวาท
ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยการทะเลาะวิวาทนั้น เกิดขึ้นโดยตรงกับผู้ร่วมสถานการณ์ เช่น สมาชิกในครอบครัว และกลุ่มผู้ร่วมดื่มนอกบ้าน นอกจากนี้ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังเป็นสาเหตุของคดีอาญาต่างๆอีกด้วย เช่น คดีอาญาฐานความผิดทำให้เสียทรัพย์ คดีอาญาฐานความผิดเกี่ยวกับเพศ และคดีอาญาฐานความผิดต่อร่างกาย เป็นต้น
ข้อเสนอแนะของกลุ่มในการแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
- รับฟังปัญหาเด็กเสมอ ไม่ตำหนิ หรือสั่งสอนเร็วเกินไป ท่าทีเป็นกลาง
- เข้าใจปัญหา หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา
- มองเด็กในแง่ดี มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
- กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีทางเลือกหลายๆทาง วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
- ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
- เป็นแบบอย่างที่ดี
- ใช้กิจกรรมช่วย กีฬา ดนตรี ศิลปะ กิจกรรมกลุ่ม
- ให้เพื่อนช่วยเพื่อน อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน ไม่ตัวใครตัวมัน
10. ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11. เมื่อทำผิด มีวิธีตักเตือน ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
จากแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยง่ายจากหลักการ 3 ข้อคือสร้างเป้าหมายในชีวิต สร้างบุคลิกภาพที่มั่นคงและมีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง
สร้างเป้าหมายในชีวิต ในวัยรุ่นการมีเป้าหมายในชีวิตเป็นเรื่องสำคัญ การค้นพบสิ่งที่ตนเองต้องการ และมีความหวังในอนาคต ทำให้เด็กเชื่อมั่น และต้องการเดินทางไปให้ถึง ความมุ่งมั่นในเป้าหมายจะทำให้เด็กตั้งใจ ยึดมั่นในความสำเร็จมากกว่าใช้เวลากับสิ่งที่ยั่วยุ
สร้างบุคลิกภาพที่มั่นคง เป็นผลมาจากการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เด็กมีความเชื่อมั่นในคนรอบข้างโดยเฉพาะคนที่เป็นพ่อและแม่ เชื่อมั่นว่าพ่อแม่สามารถให้คำแนะนำอย่างเข้าใจ พูดคุยปัญหากับพ่อแม่ได้ มั่นใจในตนเอง มีความภาคภูมิใจ จะสัมพันธ์กับความมั่นใจว่าตนเองสามารถมีชีวิตที่ดีแม้จะแวดล้อมด้วยสิ่งที่เป็นอบายมุข เด็กกลุ่มนี้จะมีสัมพันธภาพที่ดีกับคนรอบข้าง ทำให้มีกลุ่มเพื่อน คนที่เด็กสามารถไว้วางใจได้
มีความเชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง อบรมสั่งสอนตั้งแต่วัยเด็ก สามารถแยกแยะสิ่งที่ถูกต้องได้ และมีความเชื่อมั่น แม้จะเห็นคนอื่นทำสิ่งที่ผิด แต่ยังยืนหยัดที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไป ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงที่เด็กแสวงหาความหมายของชีวิต การมีประสบการณ์ที่สอนเรื่องชีวิตทำให้เด็กเข้าใจสถานการณ์ในชีวิตดีขึ้น พื้นที่ดีๆ ที่สอนการเรียนรู้สำหรับเด็กจึงเป็นสิ่งจำเป็น
เด็กกับปัญหาการเรียน
ลูกเรียนไม่เก่ง พยายามเร่งก็ไม่ทันเพื่อน ขาดความมั่นใจ รู้สึกว่าตนเองทำไม่ได้ ไม่อยากไปโรงเรียน
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำบอกเล่าถึงปัญหาที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง มักจะประสบกับลูกหลานของตนเองเด็กที่พ่อแม่ ผู้ปกครองพามาพบแพทย์เร็วหรือช้า ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความรุนแรงของปัญหา ความกังวลของพ่อแม่ ปัญหาสุขภาพกายหรือปัญหาอารมณ์หรือพฤติกรรมที่พบร่วมด้วย ส่วนใหญ่เด็กมาพบแพทย์ที่อายุน้อยเมื่อเด็กมีพัฒนาการช้าหลายด้าน พ่อแม่มีความกังวลสูง มีญาติหรือคนในครอบครัวมีปัญหาการเรียน หรือเด็กมีปัญหาทั้งทางอารมณ์และพฤติกรรมร่วมด้วย หรือมีปัจจัยเสี่ยง เช่น คลอดก่อนกำหนด มีโรคประจำตัวอื่น เป็นต้น
สาเหตุของปัญหาการเรียน
ปัญหาการเรียนของเด็กเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นที่ตัวเด็กเอง และสภาพแวดล้อมการอบรมเลี้ยงดูทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งหากเกิดจากหลายปัจจัยผสมผสานกันระหว่างเด็ก ครอบครัว และโรงเรียน จะยิ่งทำให้ปัญหาการเรียนแย่ลง เช่น เด็กมีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ อยู่กับครอบครัวที่ยากจนและพ่อแม่หย่าร้าง รวมทั้งเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีคุณภาพ จะยิ่งทำให้การแก้ไขปัญหายากยิ่งขึ้น เป็นต้น
ในทางกลับกัน ถ้าเด็กมีความบกพร่องทางการเรียนเฉพาะด้าน เช่น มีปัญหาเรื่องคำนวณหรือการเขียน แต่สติปัญญาฉลาด ไม่มีปัญหาทางอารมณ์ ปรับตัวได้ดี มีฐานะดี ถ้าหากได้รับการศึกษาที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหาการเรียนให้ดีขึ้นได้
ปัญหาการเรียนที่เกิดจากตัวเด็ก
1. ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา
1. ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา
เด็กมีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มากๆ มักจะได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่วัยทารกหรือวัยก่อนเรียน ส่วนเด็กที่สติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ไม่มาก มักได้รับการวินิจฉัยช้ากว่าคือเมื่อเด็กเริ่มเรียนชั้นอนุบาลหรือประถมต้น จะเรียนไม่ทันเพื่อน หรือสอบตกซ้ำชั้น แต่ก็จะสามารถเรียนจนจบชั้นประถมปีที่ 4-6 ได้ ถ้าได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม
2. ประสาทการรับรู้ผิดปกติ
เด็กที่หูตึงหรือหูหนวก จะมีปัญหาการสื่อสารและการพูด ซึ่งเป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ เด็กจะมีปัญหาด้านการอ่าน คำนวณ รวมทั้งอาจมีปัญหาการปรับตัว และปัญหาพฤติกรรมตามมา
ส่วนเด็กที่มีการมองเห็นผิดปกติ เช่น ตาสั้น ตาเอียง หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเด็ก
เด็กที่มีปัญหาการมองเห็นอย่างมาก เช่น ตาบอด จะมีพัฒนาการล่าช้าในหลายๆ ด้าน ทั้งการเคลื่อนไหว การพูดและการใช้ภาษา การเล่นและการเข้าสังคม
3. ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง
ประมาณ 1 ใน 4 ถึง 2 ใน 3 ของเด็กที่เจ็บป่วย เรื้อรังจะมีปัญหาการเรียนร่วมด้วย จากหลายปัจจัย เช่น
โรคที่เป็นอยู่อาจมีผลกระทบต่อสมองโดยตรง เช่น โรคลมชัก หรือมีความพิการของสมอง ทำให้มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ หรือความเจ็บปวดที่ได้รับจากโรค อาจรบกวนสมาธิในการเรียน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย มีเลือดออกในข้อบ่อยๆ จะจำกัดการเคลื่อนไหวและมีความเจ็บปวดทรมานขณะเคลื่อนไหว ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ขาดเรียนบ่อย ส่งผลให้ความคาดหวังของครูและผู้ปกครองลดลง
ยาที่ใช้ เช่น ยากันชัก ยาลดน้ำมูก อาจทำให้เซื่องซึมหรือง่วงนอน ยากันชักบางตัว (เช่น ฟีโนบาร์บิทาล) อาจทำให้สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ยาบางตัวอาจทำให้อ่อนเพลีย (เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง)
4. ภาวะทางอารมณ์ผิดปกติ
โรคที่เป็นอยู่อาจมีผลกระทบต่อสมองโดยตรง เช่น โรคลมชัก หรือมีความพิการของสมอง ทำให้มีสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ หรือความเจ็บปวดที่ได้รับจากโรค อาจรบกวนสมาธิในการเรียน เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีโมฟิเลีย มีเลือดออกในข้อบ่อยๆ จะจำกัดการเคลื่อนไหวและมีความเจ็บปวดทรมานขณะเคลื่อนไหว ทำให้ไม่อยากไปโรงเรียน ขาดเรียนบ่อย ส่งผลให้ความคาดหวังของครูและผู้ปกครองลดลง
ยาที่ใช้ เช่น ยากันชัก ยาลดน้ำมูก อาจทำให้เซื่องซึมหรือง่วงนอน ยากันชักบางตัว (เช่น ฟีโนบาร์บิทาล) อาจทำให้สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ยาบางตัวอาจทำให้อ่อนเพลีย (เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง)
4. ภาวะทางอารมณ์ผิดปกติ
ปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า อาจเป็นสาเหตุทำให้เด็กมีปัญหาการเรียนหรืออาจเป็นผลตามมาจากการที่เด็กมีปัญหาการเรียนอยู่ก่อนแล้วก็ได้
ประมาณร้อยละ 30-80 ของเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์จะมีปัญหาทางด้านการเรียนร่วมด้วย
ถ้าเด็กมีปัญหาพฤติกรรมที่แสดงออกชัดเจน เช่น ก้าวร้าว ต่อต้าน หรือรบกวนการเรียนการสอนของครูและเพื่อนในชั้น มักจะถูกส่งมาปรึกษาแพทย์เร็วกว่าเด็กที่มีปัญหาอารมณ์ที่เก็บกดไว้ภายใน เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เพราะฉะนั้นการประเมินเด็กที่มาด้วยปัญหาการเรียนจะต้องประเมินปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ด้วยเสมอ
5. การเรียนรู้ด้อย
ประมาณร้อยละ 30-80 ของเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์จะมีปัญหาทางด้านการเรียนร่วมด้วย
ถ้าเด็กมีปัญหาพฤติกรรมที่แสดงออกชัดเจน เช่น ก้าวร้าว ต่อต้าน หรือรบกวนการเรียนการสอนของครูและเพื่อนในชั้น มักจะถูกส่งมาปรึกษาแพทย์เร็วกว่าเด็กที่มีปัญหาอารมณ์ที่เก็บกดไว้ภายใน เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า เพราะฉะนั้นการประเมินเด็กที่มาด้วยปัญหาการเรียนจะต้องประเมินปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ด้วยเสมอ
5. การเรียนรู้ด้อย
คำว่าการเรียนรู้ด้อย (Learning disability หรือ LD) หมายถึง ภาวะที่เด็กมีความบกพร่องในการเรียนรู้ อันเนื่องมาจากการทำงานของสมองผิดปกติ ทำให้เรียนไม่ได้เต็มที่ตามศักยภาพที่มีอยู่ โดยอาจแสดงออกถึงความบกพร่องเรื่องการฟัง คิด อ่าน พูด เขียน หรือคำนวณ ซึ่งการเรียนรู้ด้อยเหล่านี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากตาบอด หูหนวก ปัญญาอ่อนหรือปัญหาทางอารมณ์ (คนตาบอด หูหนวก หรือปัญญาอ่อน อาจมีสภาวะการเรียนรู้ด้อยร่วมด้วยได้) โดยผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจะต่ำกว่าระดับสติปัญญา หรือศักยภาพที่มีอยู่อย่างน้อย 2 ปีหรือมากกว่า
ส่วนใหญ่จะไม่รู้สาเหตุของการเรียนรู้ด้อย แต่พบได้เพิ่มมากขึ้นในครอบครัวที่เคยมีเด็กการเรียนรู้ด้อย รวมถึงเด็กที่มีประวัติแม่ใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์ เด็กคลอดก่อนกำหนด ขาดออกซิเจนหรือสมองมีการทำงานผิดปกติ จากการติดเชื้อ อุบัติเหตุหรือได้รับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว
ถึงแม้การวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้ด้อยจะทำในเด็กที่เข้าเรียนแล้ว แต่เด็กวัยก่อนเรียนอาจมีลักษณะของเด็กที่การเรียนรู้ด้อยให้สังเกตเห็น เช่น เป็นเด็กเลี้ยงยาก หรือซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น ไม่ทำตามคำสั่ง เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า คือพูดช้า พูดไม่ชัด เรียนรู้คำใหม่ๆ ได้ช้า เลือกใช้คำไม่เหมาะสม มีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข ตัวอักษร และเวลา เด็กเหล่านี้เมื่อโตขึ้นอาจมีปัญหาการเรียนรู้ด้อย จึงต้องเฝ้าระวัง สังเกต ติดตาม และหาทางช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ
6. สมาธิสั้น
ถึงแม้การวินิจฉัยปัญหาการเรียนรู้ด้อยจะทำในเด็กที่เข้าเรียนแล้ว แต่เด็กวัยก่อนเรียนอาจมีลักษณะของเด็กที่การเรียนรู้ด้อยให้สังเกตเห็น เช่น เป็นเด็กเลี้ยงยาก หรือซนมากผิดปกติ สมาธิสั้น ไม่ทำตามคำสั่ง เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า คือพูดช้า พูดไม่ชัด เรียนรู้คำใหม่ๆ ได้ช้า เลือกใช้คำไม่เหมาะสม มีปัญหาการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข ตัวอักษร และเวลา เด็กเหล่านี้เมื่อโตขึ้นอาจมีปัญหาการเรียนรู้ด้อย จึงต้องเฝ้าระวัง สังเกต ติดตาม และหาทางช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ
6. สมาธิสั้น
สมาธิสั้นเป็นปัญหาทางพฤติกรรมที่พบได้ บ่อยของเด็กวัยเรียน พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การวินิจฉัยนั้นแยกเด็กออกเป็น 2 กลุ่มคือ ขาดสมาธิ และซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ทำก่อนคิด
เด็กบางคนมีปัญหาขาดสมาธิอย่างเดียว บางคนปัญหาส่วนใหญ่คือซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น และเด็กบางคนมีทั้งขาดสมาธิและซนอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่นร่วมกัน มักพบว่ามีอาการก่อนอายุ 7 ขวบ และต้องมีอาการอยู่อย่างน้อย 6 เดือน โดยอาการเหล่านี้ไม่เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กวัยเดียวกัน พบได้เกือบตลอดเวลาทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
เด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้นมักมีปัญหาพฤติกรรมอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญหาการเรียน การพูด และการใช้ภาษา ปัญหาการปรับตัวเข้าสังคม ต่อต้าน ไม่ร่วมมือ ชอบทำผิดระเบียบ เครียด กังวล เป็นต้น
การรักษาใช้การปรับสภาพแวดล้อมและปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนร่วมไปกับการใช้ยาในผู้ป่วยบางราย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ลดปัญหาการเรียนและปัญหาพฤติกรรมที่เกิดจากสมาธิสั้นและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
7. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
การรักษาใช้การปรับสภาพแวดล้อมและปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียนร่วมไปกับการใช้ยาในผู้ป่วยบางราย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ลดปัญหาการเรียนและปัญหาพฤติกรรมที่เกิดจากสมาธิสั้นและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
7. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
บางคนเรียกว่าเด็กอัจฉริยะ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ คือเด็กที่มีความสามารถมากกว่าเด็กวัยเดียวกัน มีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ โดยเด็กอาจจะมีพรสวรรค์พิเศษด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน เช่น คณิตศาสตร์ ภาษา กีฬา ดนตรี หรือการเป็นผู้นำ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษพบได้ประมาณร้อยละ 5-10 ของเด็ก ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความสามารถพิเศษของเด็ก เพื่อให้เด็กเกิดความมั่นใจ ภาคภูมิใจในตนเองและมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนรู้ เพราะเด็กที่มีพรสวรรค์ พิเศษจะรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากเพื่อนร่วมชั้น เข้าใจบทเรียนได้รวดเร็ว และประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมาได้ต่างจากเพื่อน และอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่ายชั้นเรียนและระบบการเรียนการสอนจนกลายเป็นเด็กที่มีปัญหาการเรียนและปัญหาพฤติกรรม
ปัญหาการเรียนที่เกิดนอกตัวเด็ก
1. ปัญหาครอบครัวและสังคม
ปัญหาภายในครอบครัวที่พบได้บ่อยๆ คือความขัดแย้งภายในครอบครัว พ่อแม่แยกกันอยู่ หย่าร้าง มีการกระทำทารุณต่อเด็ก ทอดทิ้งปล่อยปละละเลย หรือพ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจ
ส่วนปัญหาทางสังคม เช่น ฐานะยากจน พ่อแม่ตกงาน ติดยาเสพติด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะเครียดกังวลกับปัญหาภายในครอบครัว อาจซึมเศร้า ก้าวร้าว ต่อต้าน หรือมีปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา
นอกจากนี้ ความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีมากเกินไป หรือการละเลยไม่เอาใจใส่และไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ล้วนส่งผลต่อการเรียนของเด็กทั้งสิ้น
2. ปัญหาที่โรงเรียน
ปัญหาการเรียนที่เกิดนอกตัวเด็ก
1. ปัญหาครอบครัวและสังคม
ส่วนปัญหาทางสังคม เช่น ฐานะยากจน พ่อแม่ตกงาน ติดยาเสพติด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เด็กขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ เพราะเครียดกังวลกับปัญหาภายในครอบครัว อาจซึมเศร้า ก้าวร้าว ต่อต้าน หรือมีปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา
นอกจากนี้ ความคาดหวังของพ่อแม่ที่มีมากเกินไป หรือการละเลยไม่เอาใจใส่และไม่เห็นความสำคัญของการศึกษา ล้วนส่งผลต่อการเรียนของเด็กทั้งสิ้น
2. ปัญหาที่โรงเรียน
การจัดการเรียนการสอนที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก หลักสูตรของโรงเรียนที่เข้มงวดเร่งรัดมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลย
อุปกรณ์การเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐาน สื่อต่างๆ ไม่ได้คุณภาพหรือไม่เหมาะสม
คุณภาพของครู ความสามารถและเทคนิคของ ครูผู้สอนในการสร้างแรงจูงใจในการเรียน รวมทั้งสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน
จำนวนนักเรียนที่มากเกินไปในแต่ละห้อง อัตราส่วนของครูและนักเรียนไม่เหมาะสม เช่น ครู 1 คน ต่อเด็กนักเรียน 60-70 คน
กฎระเบียบและวิธีการลงโทษเมื่อเด็กทำผิด การให้คำชมเชยและให้กำลังใจเมื่อเด็กมีความพยายาม หรือทำได้สำเร็จ มีส่วนส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียน อาจเป็นแรงเสริมหรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของเด็กด้วยเช่นกัน เช่น เด็กไม่ยอมไปโรงเรียนเพราะถูกเพื่อนแกล้งหรือล้อเลียนบ่อยๆ เป็นต้น
การประเมินเด็กที่มีปัญหาการเรียน
การประเมินเด็กที่มีปัญหาการเรียน
เด็กที่มีปัญหาการเรียนจะต้องได้รับการช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็น พ่อแม่ ครู กุมารแพทย์ หรือแม้กระทั่งตัวเด็กด้วย
1. กุมารแพทย์
1. กุมารแพทย์
สามารถบอกชนิดและความรุนแรงของปัญหา เพื่อหาว่ามีปัญหาด้านสุขภาพที่อาจทำให้เกิดปัญหาการเรียนหรือไม่ เช่น โรคลมชัก หอบหืด เป็นต้น
นอกจากนี้แพทย์ต้องประเมินสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก สร้างความไว้วางใจและประสานให้เกิดความร่วมมือของพ่อแม่ ครู และตัวเด็ก ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเรียนของเด็กได้อย่างดี
2. พ่อแม่
นอกจากนี้แพทย์ต้องประเมินสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก สร้างความไว้วางใจและประสานให้เกิดความร่วมมือของพ่อแม่ ครู และตัวเด็ก ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเรียนของเด็กได้อย่างดี
2. พ่อแม่
การร่วมมือกันแก้ไขปัญหานั้น พ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญมากๆ แพทย์ต้องประเมินข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเข้าใจต่อปัญหาของพ่อแม่ว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งความสัมพันธ์ที่มีต่อเด็ก ซึ่งปัญหาอาจเกิดมานานจนเป็นความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับเด็ก พ่อแม่อาจวิตกกังวล ผิดหวังในตัวลูก เครียด โกรธที่ไม่ได้ดังใจ ทำให้ความสัมพันธ์ของพ่อแม่กับลูกเสียไป ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้พ่อแม่จะต้องเปิดเผย เช่น
เด็กมีปัญหาพฤติกรรมอื่น นอกจากปัญหาการเรียนหรือไม่ เช่น ต่อต้าน ก้าวร้าว
มีคนในครอบครัวที่มีปัญหาการเรียนหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ พี่ น้อง
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ในบ้าน เวลาที่ให้กับลูกและกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ปัญหาของพ่อแม่เอง เช่น ติดเหล้า ยา ซึมเศร้า หย่าร้าง ยากจน ตกงาน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ทำผิดกฎหมาย รวมถึงทัศนคติและค่านิยมของพ่อแม่ต่อการเรียน ให้ความสำคัญต่อการเรียนของลูกมากน้อยแค่ไหน
3. ครู
เด็กมีปัญหาพฤติกรรมอื่น นอกจากปัญหาการเรียนหรือไม่ เช่น ต่อต้าน ก้าวร้าว
มีคนในครอบครัวที่มีปัญหาการเรียนหรือไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่ พี่ น้อง
สภาพชีวิตความเป็นอยู่ในบ้าน เวลาที่ให้กับลูกและกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
ปัญหาของพ่อแม่เอง เช่น ติดเหล้า ยา ซึมเศร้า หย่าร้าง ยากจน ตกงาน มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม ทำผิดกฎหมาย รวมถึงทัศนคติและค่านิยมของพ่อแม่ต่อการเรียน ให้ความสำคัญต่อการเรียนของลูกมากน้อยแค่ไหน
3. ครู
ข้อมูลที่ได้จากครูก็มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเด็ก เช่น วิชาที่มีปัญหา ความสนใจ ความตั้งใจ ลายมือ ความสม่ำเสมอในการมาเรียน ผลการเรียนในอดีต (สมุดพก สมุดจดงาน) ความประพฤติในห้องเรียน ความช่วยเหลือหรือการทดสอบที่เคยทำไปแล้ว
4. เด็ก
4. เด็ก
ข้อมูลจากตัวเด็กตามลำพังมีความสำคัญต่อการช่วยเหลือเด็กด้วย เพื่อจะได้รู้ว่าเด็กคิดอย่างไรกับปัญหาและเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนของปัญหาการเรียน เช่น สอบตก หนีเรียน หรือมีวิชาใดบ้างที่เป็นปัญหา
ความสัมพันธ์ในครอบครัว หย่าร้าง ย้ายบ้าน ย้ายโรงเรียน ซึ่งอาจทำให้เด็กเครียดและกังวล ไม่มีสมาธิในการเรียน มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ชอบทำ วิชาที่ชอบเรียน
มีการใช้ยา สารเสพติด และแอลกอฮอล์ร่วมด้วยหรือไม่ (โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น) ซึ่งจะทำให้เด็กมีผลการเรียนตกต่ำลงหรือหนีเรียน ขาดเรียนบ่อยหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นจากโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ เช่น ฮีโมฟิเลีย ต้องหยุดเรียนเพื่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โรคลมชัก หูน้ำหนวกเรื้อรัง สารตะกั่วเป็นพิษ เลือดจางจากการขาดเหล็ก เป็นต้น รวมทั้งยารักษาโรคบางตัวที่อาจมีผลต่อสมาธิ (เช่น ฟีโนบาร์ บิทาล ทีโอฟิลลีน สูโดอีฟีดรีน)
การตรวจร่างกาย
สังเกตอารมณ์ บุคลิกทั่วไป เช่น กังวล ซึมเศร้า ซนอยู่ไม่นิ่ง
เด็กวัยรุ่นบางคน โดยเฉพาะเด็กชายที่เข้าสู่วัยรุ่นช้า จะมีปัญหาการเรียนได้มากกว่าเด็กหญิงที่เข้าวัยรุ่นช้าเนื่องจากปัญหาการปรับตัว
ปัญหาการได้ยิน การใช้สายตา เช่น หูตึง สายตาสั้น
ตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ
ตรวจทางระบบประสาท
ตรวจระดับสติปัญญา ตรวจประเมินความสำเร็จในการเรียน โดยนักจิตวิทยา
การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียน
เป้าหมายที่สำคัญคือให้ประสบความสำเร็จในการเรียน รักษาความบกพร่องที่พบร่วมด้วย และป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่อาจตามมา ต้องให้การช่วยเหลือทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน โดยทำงานเป็นทีม กับสหสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างพ่อแม่ ครู กุมารแพทย์ และมีการติดต่อประสานงานกันสม่ำเสมอ 1. การให้คำปรึกษา และสร้างความมั่นใจ
อธิบายให้เด็กและผู้ปกครองเข้าใจถึงผลการตรวจ และให้มีความมั่นใจต่อการช่วยกันแก้ปัญหา และเข้าใจถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ที่จะเป็นประโยชน์กับเด็ก รวมทั้งสถานศึกษาที่จัดการเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ผู้ปกครอง สามารถไปติดต่อได้
2. วางแผนการศึกษา
การปรับเปลี่ยนโปรแกรมการศึกษาให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละราย มีเป้าหมายชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว อาจทำได้หลายวิธี เช่น
ให้เรียนซ้ำชั้นเดิม ถ้าสาเหตุเป็นจากการเข้าเรียนเร็วกว่าวัย เช่น เข้าเรียนอนุบาลเมื่ออายุน้อยเกินไป เด็กยังไม่พร้อม ข้อเสียของการให้ซ้ำชั้น คือเด็กจะขาดความมั่นใจ รู้สึกไม่ดีต่อตนเอง ซึ่งพ่อแม่ช่วยได้โดยการให้กำลังใจและให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีค่า
ให้เด็กเรียนร่วมกับเด็กปกติ และให้แยกมาเข้าชั้นเรียนพิเศษในบางวิชา ซึ่งจะมีข้อดีคือในชั้นเรียนพิเศษจะมีอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนน้อย ครูดูแลได้ทั่วถึงกว่าชั้นเรียนปกติ ส่วนวิชาที่ไม่มีปัญหาก็ให้เด็กได้เรียนร่วมในชั้นเรียนปกติเพื่อให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเด็กปกติ
เด็กที่มีปัญหามาก อาจจำเป็นต้องแยกเรียนในโรงเรียนพิเศษหรือชั้นเรียนพิเศษทุกชั่วโมง ส่วนวิธีการสอนนั้นอาจใช้การสอนซ่อมเสริม เพื่อเพิ่มทักษะในส่วนที่เด็กบกพร่อง หรือสอนโดยชดเชย โดยใช้ทักษะที่เด็กทำได้ดีไปแก้ไขส่วนที่บกพร่อง เช่น เด็กที่ขาดทักษะการเขียน ครูสอนเสริมโดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อให้เด็กเขียนได้ดีขึ้น และชดเชยให้เด็กตอบคำถามด้วยปากเปล่าแทนการเขียนใส่กระดาษคำตอบ
3. ฝึกทักษะการเข้ากลุ่มและสังคม
3. ฝึกทักษะการเข้ากลุ่มและสังคม
เพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและรู้สึกว่าตนเองมีค่า จะช่วยป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่อาจตามมา ต้องมองหาว่าเด็กมีจุดเด่นหรือมีความสามารถด้านอื่นอะไรบ้าง เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ชอบช่วยเหลือ ชอบทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออก เกิดความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง โดยมีครู หรือพ่อแม่เป็นผู้ให้กำลังใจ ให้คำชมเชย และให้ความช่วยเหลือ
นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจต้องได้รับการฝึกพูด หรือทำกายภาพบำบัด หรือฝึกการใช้มือ
พ่อแม่ ครู แพทย์ จะต้องประสานงานกันเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนวิธีการตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จนกว่าเด็กจะจบการศึกษา
ปัญหาการเรียนของเด็ก เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งจากตัวเด็กเอง รวมทั้งสภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู การเรียนการสอน ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน กุมารแพทย์เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการตรวจ ประเมิน แก้ไขและรักษาสาเหตุ รวมทั้งหาแนวทางช่วยเหลือ ให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้ป่วย และให้มีการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ระหว่างครู ผู้ปกครอง และบุคลากรสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้ เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง ประสบความสำเร็จในการเรียน ลดและป้องกันปัญหาพฤติกรรมที่อาจเกิดตามมา และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
พ่อแม่ ครู แพทย์ จะต้องประสานงานกันเป็นระยะๆ สม่ำเสมอ และปรับเปลี่ยนวิธีการตามปัญหาที่อาจเกิดขึ้น จนกว่าเด็กจะจบการศึกษา
ที่มา…ของการหลบเรียน…
ด้วยรักและห่วงใย….การหนีเรียน หรือ การโดดเรียน คือการไม่เข้าห้องเรียนในชั่วโมงหรือคาบเวลาที่มีการสอน การหนีเรียนแบ่งได้เป็นสองแบบ คือการเตร็ดเตร่อยู่ในบริเวณโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือการหาช่องทางหลบออกไปนอกโรงเรียน อย่างเช่น…..ไม่บอกดีกว่า…ว่าเป็นใคร….
เอาเป็นว่าเรามาดูกันดีกว่า….ว่าที่มาที่ไปของการหนีเรียนมาจากสาเหตุอันใด….หนอ…
ผศ.นพ.พนม เกตุมานได้กล่าวว่า…… ปัญหาการเรียนในเด็ก เป็นปัญหาที่พ่อแม่นำมาปรึกษาบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง เนื่องจากการแข่งขันทางการเรียนที่มีมากในปัจจุบัน เด็กที่มีปัญหาการเรียนมักจะเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี หนีเรียน หนีเที่ยว ปัญหาทางเพศ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่ตามมาจากการขาดความสำเร็จในการเรียน การถูกตำหนิจากพ่อแม่ ความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้เป็นปัญหาอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่นๆที่จะเกิดตามมาได้ อาการที่พบ เช่น ผลการเรียนต่ำ
สาเหตุ
1. ปัญหาสติปัญญา เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ จะไม่สามารถเรียนรู้ แก้ไขปัญหาได้เท่าเทียมผู้อื่นที่อยู่ในวัยเดียวกัน ผลการเรียนมักอ่อนมาตั้งแต่เด็ก ในวัยก่อนเรียนมักมีประวัติพัฒนาการช้าทุกด้าน
2. โรคสมาธิสั้น การเรียนรู้ที่ได้ผล จำเป็นต้องอาศัยสมาธิ ให้จดจ่ออยู่กับการเรียน เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่สามารถตั้งใจเรียนได้ วอกแวก เหม่อลอย ถึงจะมีระดับสติปัญญาดี แต่ไม่สามารถใช้ความสามารถทางสมองได้เต็มที่ ผลการเรียนมักจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเสมอ
3. ปัญหาบุคลิกภาพ เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ติดสบาย พ่อแม่ช่วยเหลือมากเกินไป มักจะขาดความอดทน ไม่ต่อสู้ปัญหา หนี หรือหลบเลี่ยงปัญหาอยู่เสมอ เมื่อต้องเจอปัญหาอุปสรรคในการเรียนบ้างก็จะไม่สู้ ไม่ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
4. ปัญหาความเครียด หรือโรคกังวลในวัยเด็ก เด็กที่ชีวิตต้องเผชิญความเครียด ความวิตกกังวลมากๆในชีวิต (เช่นปัญหาภายในครอบครัว) หรือเด็กที่มีพื้นอารมณ์เครียดง่าย กังวลง่าย มักจะไม่สามารถเรียนได้ดี เนื่องจากมีอาการของความเครียด ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียน กลัว คอยรบกวนอยู่เสมอ ทำให้ขาดสมาธิ
5. อาการซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าในวัยเด็ก มักเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือครอบครัวนั่นเอง ชีวิตที่ขาดความสุข ความมั่นคงในอารมณ์ หรือมีการสูญเสียพ่อแม่ มักเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้าในเด็กได้ง่าย ในวัยรุ่น อาการซึมเศร้ามักพบได้บ่อยๆ เนื่องจากอารมณ์วัยรุ่นมีความแปรปรวนมากอยู่แล้ว และมักมีเรื่องกระทบจิตใจได้ง่าย การปรับตัวที่ไม่ดีเป็นสาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นได้ง่าย
6. ปัญหาการเรียนเฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน
7. การขาดแรงจูงใจที่ดี
8. การขาดการสนับสนุนส่งเสริม
การรักษา
การรักษาควรแก้ไขที่สาเหตุโดยตรง อาจมีการตรวจประเมินเพิ่มเติม เช่น การทดสอบทางจิตวิทยา การวัดระดับสติปัญญา การรับรู้ทางสายตาและหู
1. การฝึกฝนอบรมเพิ่มรายบุคคลและ/หรือแบบกลุ่ม
2. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านพร้อมกัน
3. การเรียนโดยแผนการเรียนรายบุคคล (Individual Educational Program)
เอาเป็นว่าเรามาดูกันดีกว่า….ว่าที่มาที่ไปของการหนีเรียนมาจากสาเหตุอันใด….หนอ…
ผศ.นพ.พนม เกตุมานได้กล่าวว่า…… ปัญหาการเรียนในเด็ก เป็นปัญหาที่พ่อแม่นำมาปรึกษาบ่อยที่สุดปัญหาหนึ่ง เนื่องจากการแข่งขันทางการเรียนที่มีมากในปัจจุบัน เด็กที่มีปัญหาการเรียนมักจะเกิดปัญหาพฤติกรรมอื่นตามมา เช่น เกเร ก้าวร้าว ดื้อ ซน เครียด วิตกกังวล หงุดหงิด คบเพื่อนไม่ดี หนีเรียน หนีเที่ยว ปัญหาทางเพศ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเองที่ตามมาจากการขาดความสำเร็จในการเรียน การถูกตำหนิจากพ่อแม่ ความรู้สึกตนเองล้มเหลว และขาดความภาคภูมิใจในตนเอง ทำให้เป็นปัญหาอารมณ์และกลายเป็นปัญหาบุคลิกภาพ การหาสาเหตุของปัญหาควรรีบทำเพื่อป้องกันปัญหาพฤติกรรมอื่นๆที่จะเกิดตามมาได้ อาการที่พบ เช่น ผลการเรียนต่ำ
สาเหตุ
1. ปัญหาสติปัญญา เด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ จะไม่สามารถเรียนรู้ แก้ไขปัญหาได้เท่าเทียมผู้อื่นที่อยู่ในวัยเดียวกัน ผลการเรียนมักอ่อนมาตั้งแต่เด็ก ในวัยก่อนเรียนมักมีประวัติพัฒนาการช้าทุกด้าน
2. โรคสมาธิสั้น การเรียนรู้ที่ได้ผล จำเป็นต้องอาศัยสมาธิ ให้จดจ่ออยู่กับการเรียน เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่สามารถตั้งใจเรียนได้ วอกแวก เหม่อลอย ถึงจะมีระดับสติปัญญาดี แต่ไม่สามารถใช้ความสามารถทางสมองได้เต็มที่ ผลการเรียนมักจะต่ำกว่าที่ควรจะเป็นเสมอ
3. ปัญหาบุคลิกภาพ เด็กที่เอาแต่ใจตนเอง ติดสบาย พ่อแม่ช่วยเหลือมากเกินไป มักจะขาดความอดทน ไม่ต่อสู้ปัญหา หนี หรือหลบเลี่ยงปัญหาอยู่เสมอ เมื่อต้องเจอปัญหาอุปสรรคในการเรียนบ้างก็จะไม่สู้ ไม่ใช้ความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่
4. ปัญหาความเครียด หรือโรคกังวลในวัยเด็ก เด็กที่ชีวิตต้องเผชิญความเครียด ความวิตกกังวลมากๆในชีวิต (เช่นปัญหาภายในครอบครัว) หรือเด็กที่มีพื้นอารมณ์เครียดง่าย กังวลง่าย มักจะไม่สามารถเรียนได้ดี เนื่องจากมีอาการของความเครียด ย้ำคิดย้ำทำ คิดวนเวียน กลัว คอยรบกวนอยู่เสมอ ทำให้ขาดสมาธิ
5. อาการซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้าในวัยเด็ก มักเป็นผลจากสิ่งแวดล้อมหรือครอบครัวนั่นเอง ชีวิตที่ขาดความสุข ความมั่นคงในอารมณ์ หรือมีการสูญเสียพ่อแม่ มักเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดอาการซึมเศร้าในเด็กได้ง่าย ในวัยรุ่น อาการซึมเศร้ามักพบได้บ่อยๆ เนื่องจากอารมณ์วัยรุ่นมีความแปรปรวนมากอยู่แล้ว และมักมีเรื่องกระทบจิตใจได้ง่าย การปรับตัวที่ไม่ดีเป็นสาเหตุของความเครียดในวัยรุ่นได้ง่าย
6. ปัญหาการเรียนเฉพาะด้าน เช่น การอ่าน การเขียน
7. การขาดแรงจูงใจที่ดี
8. การขาดการสนับสนุนส่งเสริม
การรักษา
การรักษาควรแก้ไขที่สาเหตุโดยตรง อาจมีการตรวจประเมินเพิ่มเติม เช่น การทดสอบทางจิตวิทยา การวัดระดับสติปัญญา การรับรู้ทางสายตาและหู
1. การฝึกฝนอบรมเพิ่มรายบุคคลและ/หรือแบบกลุ่ม
2. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านพร้อมกัน
3. การเรียนโดยแผนการเรียนรายบุคคล (Individual Educational Program)
ใครหลบหลีกหนีเรียนอยู่เป็นนิจ ติดนิสัย
มีจิตใจไม่มุ่งเรียน เพียรศึกษา
ชวนเพื่อนหลบหลีกหนีเรียน ตลอดเวลา
ไม่รักษาชื่อเสียง สถาบัน
จงเชื่อเถิดเมื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่
จะไร้ซึ่งอาชีพ วาสนา
อันเนื่องจากไม่ได้เรียนมา อนิจจาจนตายวายชีพเอย
มีจิตใจไม่มุ่งเรียน เพียรศึกษา
ชวนเพื่อนหลบหลีกหนีเรียน ตลอดเวลา
ไม่รักษาชื่อเสียง สถาบัน
จงเชื่อเถิดเมื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่
จะไร้ซึ่งอาชีพ วาสนา
อันเนื่องจากไม่ได้เรียนมา อนิจจาจนตายวายชีพเอย
ใครหลบหลีกหนีเรียนอยู่เป็นนิจ ติดนิสัย
มีจิตใจไม่มุ่งเรียน เพียรศึกษา
ชวนเพื่อนหลบหลีกหนีเรียน ตลอดเวลา
ไม่รักษาชื่อเสียง สถาบัน
จงเชื่อเถิดเมื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่
จะไร้ซึ่งอาชีพ วาสนา
อันเนื่องจากไม่ได้เรียนมา อนิจจาจนตายวายชีพเอย
มีจิตใจไม่มุ่งเรียน เพียรศึกษา
ชวนเพื่อนหลบหลีกหนีเรียน ตลอดเวลา
ไม่รักษาชื่อเสียง สถาบัน
จงเชื่อเถิดเมื่อเติบโต เป็นผู้ใหญ่
จะไร้ซึ่งอาชีพ วาสนา
อันเนื่องจากไม่ได้เรียนมา อนิจจาจนตายวายชีพเอย
ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่จะต้องทำความเข้าใจถึงเรื่องที่ลูกหนีเรียนนั้นว่าเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1. แต่งตัวเดินออกจากบ้านแล้ว แต่ไปไม่ถึงโรงเรียน แวะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ลานสเก็ต เมื่อถึงตอนเย็นเด็กจะกลับมาถึงบ้านตามเวลาปกติ
2. เด็กไปเรียนในช่วงเช้า ตอนบ่ายจะหนีออกจากโรงเรียน เด็กอาจหนีออกทางด้นาหลัง หรือ ปีนรั้วข้ามกำแพงออกมา ซึ่งการหนีเรียนนั้นเด็กจะไม่ไปโรงเรียนและไม่อยู่บ้านด้วย
สำหรับสาเหตุของการหนีเรียนนั้นพบว่า เด็กมีความหมดหวังในสิ่งที่ได้รับจากทางบ้าน โรงเรียนหรือในหมู่เพื่อนด้วยกัน ถ้าเด็กหนีเรียนในกรณีที่เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือ หนีเรียนเพราะเพื่อนชวน นับว่าเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าหนีแล้วหลบไปอยู่คนเดียวหรือไปก่อความวุ่นวาย อันนี้ต้องระวังและหาทางแก้ไขอย่างรีบด่วน
1. แต่งตัวเดินออกจากบ้านแล้ว แต่ไปไม่ถึงโรงเรียน แวะตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ลานสเก็ต เมื่อถึงตอนเย็นเด็กจะกลับมาถึงบ้านตามเวลาปกติ
2. เด็กไปเรียนในช่วงเช้า ตอนบ่ายจะหนีออกจากโรงเรียน เด็กอาจหนีออกทางด้นาหลัง หรือ ปีนรั้วข้ามกำแพงออกมา ซึ่งการหนีเรียนนั้นเด็กจะไม่ไปโรงเรียนและไม่อยู่บ้านด้วย
สำหรับสาเหตุของการหนีเรียนนั้นพบว่า เด็กมีความหมดหวังในสิ่งที่ได้รับจากทางบ้าน โรงเรียนหรือในหมู่เพื่อนด้วยกัน ถ้าเด็กหนีเรียนในกรณีที่เข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือ หนีเรียนเพราะเพื่อนชวน นับว่าเป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรง แต่ถ้าหนีแล้วหลบไปอยู่คนเดียวหรือไปก่อความวุ่นวาย อันนี้ต้องระวังและหาทางแก้ไขอย่างรีบด่วน
แนวทางการแก้ไข
1. คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามหรือใช้การสังเกตเพื่อหาสาเหตุให้พบ และรีบให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในบางครั้งอาจต้องใช้การลงโทษได้บ้างแต่ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด
2. พ่อแม่ควรต้องติดต่อประสานงานกับครูถ้าสาเหตุอยู่ที่โรงเรียน หรือ ครู ควรให้โรงเรียน หรือ ครู เป็นผู้แก้ปัญหา ถ้าสาเหตุมาจากบ้านพ่อแม่ควรจะปรึกษาหารือร่วมกัน อย่ารีบร้อนลงโทษลูกอย่างรุนแรง
ในกรณีที่พ่อแม่ไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกได้อย่างไร ให้ลองปรึกษาครู หรือ ผู้ให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตจากสถานบริการใกล้บ้านดู เพื่อหาทางช่วยเหลือเด็กต่อไปค่ะ
1. คุณพ่อคุณแม่ควรสอบถามหรือใช้การสังเกตเพื่อหาสาเหตุให้พบ และรีบให้การช่วยเหลือด้วยวิธีการที่เหมาะสม ในบางครั้งอาจต้องใช้การลงโทษได้บ้างแต่ไม่ใช่วิธีการที่ดีที่สุด
2. พ่อแม่ควรต้องติดต่อประสานงานกับครูถ้าสาเหตุอยู่ที่โรงเรียน หรือ ครู ควรให้โรงเรียน หรือ ครู เป็นผู้แก้ปัญหา ถ้าสาเหตุมาจากบ้านพ่อแม่ควรจะปรึกษาหารือร่วมกัน อย่ารีบร้อนลงโทษลูกอย่างรุนแรง
ในกรณีที่พ่อแม่ไม่ทราบว่าจะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกได้อย่างไร ให้ลองปรึกษาครู หรือ ผู้ให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิตจากสถานบริการใกล้บ้านดู เพื่อหาทางช่วยเหลือเด็กต่อไปค่ะ
|
|
|
ใส่ความเห็น
COMMENTS 0